วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กำจัดแมลงสาบสูตรตายรัง


พบสารกำจัดแมลงสาบสูตรตายรัง
เด็กนักเรียนประถมโรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์ หัวใสคิดค้นสารกำจัดแมลงสาบ สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคร้ายสูตรตายรังได้สำเร็จ สามารถกำจัดแมลงสาบได้ดีโดยไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สารกำจัดแมลงสาบ สัตว์ที่มีนิสัยทำลายข้าวของ ขับถ่ายสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น และเป็นตัวแพร่กระจายเชื้อโรคมาสู่คนมากมายได้แก่โรคทางเดินอาหาร อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ ภูมิแพ้ และโรคหอบหืด ที่นักเรียนโรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ค้นพบและสามารถกำจัดแมลงสาบให้กลับไปตายที่รังได้สำเร็จ มีส่วนประกอบสำคัญคือ ปูนซีเมนต์ผง แป้งข้าวจ้าว และโอวัลติน ซึ่งเมื่อนำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันมากที่สุดแล้วนำไปวางไว้ในที่ที่มีแมลงสาบซุกชุม พร้อมนำน้ำไปวางใกล้ๆ แมลงสาบจะมากินสารกำจัดแมลงสาบและน้ำแล้วจะกลับไปตายที่รังของมัน ซึ่งเป็นวิธีการกำจัดแมลงสาบที่ไม่มีพิษตกค้าง และเป็นอันตรายต่อมนุษย์เหมือนกับการกำจัดแมลงสาบโดยวิธีการใช้สารเคมีฉีดพ่น
เด็กหญิงเจนจิรา โพนยงค์ นักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 โรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์หนึ่งในผู้คิดค้นสารกำจัดแมลงสาบกล่าวว่า ส่วนประกอบของสารกำจัดแมลงสาบที่นำผสมกันจะมีคุณสมบัติและทำหน้าที่แตกต่างกันไปเช่น โอวัลตินจะเป็นสารที่ล่อให้แมลงสาบมากินสารกำจัดแมลงสาบ แป้งข้าวจ้าวจะทำให้แมงสาบหิวน้ำเมื่อกินเข้าไป ส่วนปูนซีเมนต์จะทำให้แมงสาบแน่นท้องและตายเมื่อกินสารกำจัดแมลงสาบและน้ำเข้าไป

โรคร้ายทุกชนิดเริ่มต้นที่ปาก

ปากของคนเราเต็มไปด้วยแบคทีเรีย

ปากของเราเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และโปรโตซัว แต่ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรีย เพราะปากเป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสม มีความร้อน ความชื้น และอุนหภูมิคงที่ ยังมีอาหารอุดมสมบูรณ์จากเศษอาหารที่เรารับประทาน กล่าวกันว่าปริมาณแบคทีเรียในปากของคนคนหนึ่ง มีมากกว่าจำนวนประชาการของคนทั้งโลก แบคทีเรียบางชนิดอาศัยอยู่บนผิวฟัน บางชนิดอยู่ในช่องว่างระหว่างฟันและเหงือก บางชนิดอยู่ที่เพดานปาก และบางชนิดอยู่ที่ใต้ลิ้นและโคนลิ้น การแปรงฟันและการใช้น้ำยาบ้วนปากช่วยลดปริมาณแบคทีเรียเหล่านี้ลงได้แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งไม่นานก็จะกลับมาแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นเช่นเดิม

  
   โรคร้ายทุกชนิดเริ่มต้นที่ปาก

อาจฟังดูเหลือเชื่อ แต่หากไม่นับโรคทางพันธุกรรม โรคทางอารมณ์ หรือโรคจากการบาดเจ็บต่างๆ โรคร้ายเกือบทุกชนิด รวมทั้งการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆล้วนเริ่มต้นที่ปาก เนื่องจากปากเป็นประตูเข้าสู่ร่างกาย การรับประทานอาหารไม่ถูกต้องหรืออาหารที่มีพิษ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ยิ่งกว่านั้นในปากและลำใส้ยังเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียนับพันล้านตัว บางชนิดเป็นอันตราย บางชนิดไม่ และบางชนิดเป็นประโยชน์ ถ้าแบคทีเรียเหล่านี้สามารถเข้าสู่กระแสเลือด แม้แต่แบคทีเรียชนิดที่ไม่เป็นอันตรายก็สามารถทำให้เราถึงแก่ความตายได้ หากในปากของเรามีแผล หรือมีการอักเสบของเหงือกหรือเนื้อเยื่อ จะทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยง่าย เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิดตั้งแต่โรคไขข้ออักเสบไปจนถึงโรคหัวใจ


ข้อมูลจาก  www.thaidentoz.com

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

นอนตื่นสาย ช่วยชาร์จพลังสมอง

 วันหยุดทั้งที หลายคนก็คงอยากจะนอนซุกตัวอยู่ใต้ผ้าห่มจนถึงช่วง สาย แต่บางคนอาจรู้สึกว่าการตื่นสายเป็นการสื่อถึงความขี้เกียจ อ๊ะ อ๊ะ อย่าเพิ่งคิดแบบนั้น

    เพราะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย ลีเบร เดอ บรูแซล (The Université Libre de Bruxelles) ประเทศเบลเยี่ยม ได้ทำการ ศึกษาโดยสแกนสมองเพื่อดู ความตื่นตัวและสมาธิของสมองในกลุ่มผู้ที่ตื่นเช้า (ประมาณ ตี 5 ถึง 6 โมงเช้า) และกลุ่มผู้ที่ตื่นสายมากๆ (ประมาณเที่ยงวัน) พบว่าหลังจากที่ตื่นนอนมาเป็นระยะเวลา 10 ชั่วโมงการทำงาน ของพื้นที่สมองของกลุ่มผู้ที่นอนตื่นเช้าจะลดลง เริ่มรู้สึกง่วง นอนมากขึ้นเรื่อยๆ และความสามารถในการทำงานต่างๆ ช้าลง เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ที่นอนตื่นสาย

วันหยุดก็นอนตื่นสายบ้าง ไม่เป็นไรหรอกค่ะ ให้สมอง ได้พักผ่อน หลังจากทำงานหนักมาหลายวัน


วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของทะเบียนรถและความหมาย


*ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกระบุว่า

1.รถ ยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน รถยนต์รับจ้างสามล้อ รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง และรถจักรยานยนต์รับจ้าง รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ได้แก่ รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ที่ใช้รับจ้างระหว่างจังหวัด โดยรับส่งคนโดยสารได้เฉพาะที่นายทะเบียนกำหนด

- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเหลืองสะท้อนแสง

- ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็น

สีแดง สำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด

สีดำ สำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์

สีเขียว สำหรับรถยนต์รับจ้างสามล้อ

สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง

2.รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร รถยนต์บริการให้เช่า

รถยนต์บริการธุรกิจ เช่น รถที่ใช้ขนคนในสนามบิน ท่าเรือ สถานีขนส่ง หรือสถานีรถไฟ และรถโรงแรม

รถยนต์บริการทัศนาจร เช่น รถนำเที่ยวของบริษัททัวร์ โดยรถพวกนี้

-พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเขียวสะท้อนแสง

-ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็นสีขาว

3.รถ ยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ พวกรถส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเก๋ง รถตู้ รถกระบะ มอเตอร์ไซค์ รถ MPV หรือรถ SUV โดย

-พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาวสะท้อนแสง

-ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็น

สีดำ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์

สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน

สีเขียว สำหรับรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล

สีแดง สำหรับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล

หมาย เหตุ จะมีแผ่นป้ายทะเบียนชนิดพิเศษ พวกเลขสวย โดยจะเป็นป้ายที่ออกให้ประมูล ซึ่งจะมีสีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียน หมายเลขทะเบียน และตัวอักษรต่างไปจากแผ่นป้ายทะเบียนปกติ และแต่ละจังหวัด สีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียนก็จะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ตามประกาศของกรมการขนส่งทางบก (ยกเว้นรถสามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ ไม่มีป้ายพิเศษนี้)

4.รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม

-พื้นแผ่นป้ายเป็นสีส้มสะท้อนแสง

-ตัวอักษร หมายเลข และขอบป้ายเป็นสีดำ

5.รถยนต์ของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต และรถจักรยานยนต์ของคณะผู้แทนทางการทูต

พวกรถทูต ลักษณะป้ายจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ท ตามด้วยรหัสประเทศ ขีด แล้วก็เลขทะเบียน ตัวอย่างเช่น รถทูตญี่ปุ่นก็จะเป็น ท44-9999

-พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาว (สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง)

-ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีดำ

6.รถ ยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต ในคณะผู้แทนทางกงสุล ในองค์การระหว่างประเทศ หรือทบวงการชำนาญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย และรถจักรยานยนต์ของบุคคลข้างต้น ลักษณะป้ายก็เหมือนรถทูต แต่ต่างกันตรงที่รถในหน่วยงานพิเศษของสถานทูตจะใช้ตัวอักษร พ ส่วนรถกงสุลจะใช้ตัวอักษร ก ส่วนรถของสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ในไทย จะใช้ตัวอักษร อ และ

-พื้นแผ่นป้ายเป็นสีฟ้า (สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง)

-ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีขาว

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ ขนาด และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ พ.ศ.2547

ส่วนแผ่นป้ายแดง พ.ร.บ.รถยนต์ 2522 กำหนดให้ขับขี่ได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน

จะนำมาขับในถนนหลวงไม่ได้เว้นแต่ได้รับอนุญาต

จุดประสงค์การใช้งานรถป้ายแดงคือ

1.รถมีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม

2.เป็นรถใหม่


ที่มา : tamdee.net

อันตรายคนที่ชอบกินผักกระเฉด ผักบุ้ง


อันตรายคนที่ชอบกินผักกระเฉด ผักบุ้ง

กระทรวงสาธารณสุขได้เตือนให้ประชาชนระวังการบริโภคผักบุ้ง
ผักกระเฉดที่ไม่ ผ่านการต้มเดือดถึง500 องศาเซลเซียส
ว่าอาจจะได้รับอันตรายจากศัตรูตัวใหม่ที่เรียกว่า "ไข่ ปลิง"
เพราะเจ้าไข่ปลิงตัวนี้สามารถทนความร้อนได้สูงมาก
เพราะฉะนั้นถ้าท่านจะรับประทานผักบุ้ง
หรือผักกระเฉดต้องต้มกันเป็นชั่วโมง
ถึงจะสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย
ดังนั้นท่านจึงควรรับ ประทานอาหารที่ปรุงด้วยกรรม
วิธีอื่นจะดีกว่าประเภทยำ
เพราะส่วนใหญ่อาหารประเภทยำจะนำไปผ่านความร้อน
เพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น เอง ก็นำขึ้นมารับประทานแล้ว
ดังนั้นจึงไม่สามารถทำลายไข่ปลิงได้ถ้าให้ดีควรเลี่ยงไปรับประทานผักชนิดอื่นจะดีกว่า
เพราะขั้นตอนในการทำความสะอาดก่อนจะนำมาต้มจะง่ายกว่า
การ ทำความสะอาดผักบุ้ งและผักกระเฉด
มีนักศึกษาแพทย์ศิริราชเคยไปทานสุกี้ที่ร้านแห่งหนึ่งมีชื่อคล้าย
ก่อนที่จะนำผักบุ้งใส่ในหม้อต้มน้ำบัง เอิญเธอผู้นั้น!
เหลือบไปเห็นเจ้าไข่ปลิงเกาะอยู่ที่ใบของผักบุ้งซึ่งเธอ
เพิ่งจะได้รับความรู้เกี่ยวกับอันตรายของไข่ปลิงมาจากหลักสูตร
ซึ่งเธอเพิ่งจะเรียนผ่านมานี้เองดังนั้นเธอจึงตัดสินใจไม่รับประทานผักบุ้งนั้นเลย
และเปลี่ยนเป็นสั่งผักชนิดอื่นมารัประทานแทน
เมื่อทุกท่านทราบอย่างนี้แล้วท่านก็ตัดสินใจเองก็แล้วกัน
ว่าจะรับประทานผัก บุ้งและผักกระเฉดต่อไป
หรือไม่ก็ระวังกันไว้ด้วยนะใครที่ชอบทานผักทั้ง 2
ประเภทต่อไปคงเลิกทาน

 
ขอขอบคุณ   http://fwmail.teenee.com

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ริดสีดวงทวารหนัก


ริดสีดวง...เป็นแล้วอย่าชะล่าใจ


  ขึ้นชื่อว่า “ริดสีดวงทวารหนัก” ก็พาลให้นึกถึงวลีสุดฮิต “ลมมันเย็นนนนน” ที่สะท้อนความยากลำบากในการขับถ่ายและความเจ็บปวดในการนั่ง นับตั้งแต่อาการแสบๆ คันๆ จนถึงปวดขนาดลุกนั่งสะท้านใจ! แม้ริดสีดวงจะไม่ร้ายแรงถึงชีวิตแต่ก็ไม่ควรมองข้ามสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงยิ่งต้องระวัง มิฉะนั้นอาจสายเกินไป

  
ริดสีดวง...  ชื่อนี้ไม่ได้มีแต่เสีย

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าหากมีอาการคัน เจ็บและแสบบริเวณปากทวารและมีเลือดออกเมื่อขับถ่ายอุจจาระ เป็นสัญญาณบ่งบอกของริดสีดวงทวารหนัก ซึ่งความจริงแล้วอาจมาจากสาเหตุอื่นที่คล้ายกัน เช่น แผลแยกบริเวณปากทวาร ฝี โรคติดเชื้อของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เกิดการอักเสบจากเชื้อรา ฯลฯ แต่ด้วยความที่เกิดใกล้ๆ กับบริเวณปากทวารจึงทำให้คนเข้าใจผิด และเหมารวมว่าเป็นริดสีดวงทวารไปเสีย ดังนั้นเพื่อความเข้าใจรวมถึงแนะวิธีสังเกตและรักษาริดสีดวงทวารหนักอย่างถูกต้อง นพ.ชิงเยี่ยม ปัญจปิยะกุล ศัลยแพทย์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “โดยธรรมชาติทุกคนมีริดสีดวงทวารอยู่แล้ว คือเป็นเนื้อเยื่อภายในช่องทวารอยู่เหนือปากทวารหนักประมาณ 3 เซนติเมตร หรือที่เรียกว่าเบาะรอง (cushion) มีอยู่ 3 ตำแหน่ง ซึ่งหากเปรียบกับทิศทางนาฬิกาก็คือ ตำแหน่งที่ 3, 7 และ 11 นาฬิกา เนื้อเยื่อเหล่านี้ช่วยทำให้การขับถ่ายอุจจาระเป็นไปอย่างสะดวก ไม่ทำให้ทวารหนักฉีกขาดและทำให้รูทวารหนักปิดสนิท ไม่มีอุจจาระเล็ดรอด แต่ “ริดสีดวง” ที่เป็นผู้ประสานงานอย่างดีจะกลายเป็นตัวปัญหาก่อให้เกิดความรำคาญ เมื่อหลอดเลือดบริเวณนั้นผิดปกติอันเนื่องมาจากท้องผูกเป็นประจำ ทำให้ต้องเบ่งมากทุกครั้งที่ถ่าย นั่งห้องน้ำนานๆ เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ในห้องน้ำ หรือพยายามเบ่งถ่ายทั้งๆ ที่ไม่ปวดถ่าย หรือในกรณีของผู้สูงอายุที่กล้ามเนื้อหย่อนยาน หญิงตั้งครรภ์ที่มดลูกขยายใหญ่เบียดอุ้งเชิงกรานทำให้เลือดบริเวณนั้นไหลกลับไม่สะดวก เช่นเดียวกับคนที่เป็นโรคตับแข็งและม้ามโต ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเบาะรองเกิดการโป่งพอง และขยายตัวเป็นก้อนเบียดออกด้านข้างหรือเลื่อนต่ำลงมา จนกลายเป็นริดสีดวงทวารหนักที่เป็นปัญหา”

  
  ชนิดของริดสีดวงทวารหนัก

ริดสีดวงทวารหนักแบ่งเป็นสองชนิดตามลักษณะตำแหน่งการเกิด นั่นคือ

    ริดสีดวงภายนอก เป็นติ่งเนื้อเยื่อที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้รอบๆ ทวารหนัก อาจมีอาการคันจนกระทั่งเจ็บปวดมาก ทำให้รบกวนการลุกนั่งไม่สะดวก วิธีการรักษาคือ ผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหา
    ริดสีดวงทวารหนักภายใน มักไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ เพราะเกิดอยู่ภายในทวารเหนือเส้นประสาทรับความรู้สึก อาการที่สังเกตได้คือ มีเลือดออกสีแดงสดหลังถ่ายอุจจาระ คนที่เป็นมากๆ อาจเห็นเป็นหยดเลือดไหลเป็นสายบริเวณโถส้วม ซึ่งริดสีดวงทวารหนักภายในสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะตามความรุนแรงที่เป็นคือ

    ระยะที่ 1 เมื่อส่องกล้องตรวจดูจะพบว่ามีเพียงติ่งเนื้อยื่นออกมา สามารถรักษาด้วยการแช่ก้นด้วยน้ำอุ่น การใช้ยาเหน็บ ยาทา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่ นั่นคือกินผักและผลไม้เพื่อเพิ่มกากใยอาหารเพื่อป้องกันท้องผูก

    ระยะที่ 2  หัวริดสีดวงทวารหักโผล่ออกมาขณะเบ่งถ่ายและหดกลับเข้าไปเองหลังถ่ายอุจจาระ ติ่งเนื้อยื่นออกมาบ่อยเวลาถ่าย มีเลือดออกเช่นเดียวกับระยะที่ 1 บวกกับอาการคัน หรือมีมูกแฉะบริเวณทวารหนักร่วมด้วย วิธีการรักษาคือการฉีดยาทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นหดตัวฝ่อ หรือการใช้หนังยางพิเศษรัดเพื่อทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นขาดเลือด ทำให้เนื้อเยื่อตายแล้วหลุดออกมาเองประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งคนที่เป็นจะไม่รู้สึกเจ็บ ไม่ต้องวางยาสลบ และ สามารถกลับบ้านได้เลย ทั้งนี้ระหว่างที่เนื้อเยื่อหลุดออกจะมีเลือดซึมออกมาบ้าง จึงต้องใช้ผ้าอนามัยรองซับ

    ระยะที่ 3  และ 4 มีลักษณะใกล้เคียงกันคือ หัวริดสีดวงทวารหนักจะโผล่ออกมาเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระ ไอ จาม การยกของหนัก ระยะนี้จำเป็นต้องใช้มือดันเข้าไป แต่ก็มักโผล่ออกมาอีก กลายเป็นติ่งยื่นอยู่ภายนอกทวาร หากหัวริดสีดวงทวารหนักเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ ก็จะสร้างความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก ซึ่งระยะนี้มักพบว่าเป็นทั้งริดสีดวงภายนอกและภายในพร้อมกัน จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดรักษา ซึ่งปัจจุบันมีทั้งการผ่าตัดใช้มีดปกติ การใช้เลเซอร์ การใช้เครื่องมือตัดเย็บหัวริดสีดวงอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการตัดควั่นเอาริดสีดวงทวารหนักภายในและเย็บทันที เป็นต้น  การเลือกวิธีการผ่าตัดต้องพิจารณาความเหมาะสมตามความรุนแรงและขนาดของริดสีดวงทวารหนักของแต่ละคน บวกกับความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์ แต่ที่สำคัญคือ วางใจได้ว่าหลังการผ่าตัดแล้วหูรูดจะไม่เสียอย่างที่เข้าใจกัน
    การดูแลตัวเองหลังการรักษาหรือผ่าตัดริดสีดวงทวารหนัก

      
       การรักษาริดสีดวงทวารหนักในระยะต้นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาแบบไปเช้าเย็นกลับ สามารถทำได้ที่คลินิกและโรงพยาบาล ยกเว้นกรณีที่ต้องผ่าตัดรักษา คุณหมอจะต้องวางยาสลบและให้พักฟื้นที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการต่อสักระยะ ทั้งนี้การดูแลรักษาตนเองหลังการรักษาหรือผ่าตัดริดสีดวงทวารหนักที่สำคัญก็เช่น
        การแช่ก้นในน้ำอุ่นเช้า-เย็น ครั้งละ 15-30 นาที ในช่วงสัปดาห์แรก เพื่อทำให้แผลริดสีดวงทวารที่เพิ่งผ่าตัดสะอาด ลดการติดเชื้อ บวมและแสบได้ดี แต่หากไม่สะดวกสามารถใช้สายชำระฉีดทำความสะอาดตามปกติได้เช่นกัน โดยไม่ต้องใช้สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดเฉพาะที่ใดๆ
        หลีกเลี่ยงการสวนทวารด้วยยาสวน เพราะอาจระคายแผลที่เพิ่งรักษาเกิดการบวม และอักเสบได้ โดยเฉพาะการรัดหนังยาง แต่ระหว่างนี้อาจกินยาระบายเพื่อช่วยทำให้อุจจาระนิ่ม แผลที่เพิ่งผ่าตัดก็จะหายเร็วมากขึ้น
        ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายเสียใหม่ เพื่อป้องกันการกลับไปเป็นริดสีดวงทวารหนักอีกครั้ง นั่นคือพยายามอย่าให้ท้องผูก ดื่มน้ำมากๆ รับประทานผัก ผลไม้และธัญพืชที่มีกากใยอาหารมาก  ไม่นั่งห้องน้ำนานๆ หากไม่ปวดถ่าย การไม่กลั้นอุจจาระ การไม่ใช้ยาระบายพร่ำเพรื่อจนทำให้เกิดอาการท้องผูก
        ริดสีดวงทวารหนัก VS มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

          
           คุณหมอชิงเยี่ยมตอบข้อสงสัยนี้ที่มีคนถามกันมากว่า “การเป็นริดสีดวงทวารหนักไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แต่ริดสีดวงเป็นสาเหตุที่ทำให้เรามองข้ามถึงสัญญาณอันตรายที่เตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เนื่องจากทั้งสองอาการมีสาเหตุอย่างเดียวกันคือ ท้องผูกเรื้อรัง แถมยังมีเลือดออกทางทวารหนักคล้ายคลึงกัน ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการขับถ่ายอุจจาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่มากกว่า 50 ปีขึ้นไป หมอแนะนำว่าให้มาตรวจเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง อย่าเดาเอาเอง เพราะนอกจากจะรักษาไม่ตรงจุดหรือถูกวิธีแล้ว มันอาจเป็นการตัดโอกาสในการรักษาที่จะตัดไฟแต่ต้นลมหากเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก” 

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความหมาย มาตรฐาน GMP ในอาหารคืออะไร


 GMP (Good Manufacturing Practice) 
หมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ ผลิตปฏิบัติตาม และทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตราย หรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

       GMP เป็นระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติ และพิสูจน์จากกลุ่มนักวิชาการด้านอาหารทั่วโลกแล้วว่าสามารถทำให้อาหารเกิด ความปลอดภัย เป็นที่เชื่อถือยอมรับจากผู้บริโภค โดยอาศัยหลายปัจจัยที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ดังนั้นหากยิ่งสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดได้ทั้งหมด ก็จะทำให้อาหารมีคุณภาพมาตรฐานและมีความปลอดภัยมากที่สุด

 หลักการของ GMP จึงครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร ระบบการผลิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีคุณภาพ ได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต  ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป  การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค   มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึง ระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย (Sanitation และ Hygiene) ทั้งนี้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีคุณภาพและความปลอดภัย   เป็นที่มั่นใจเมื่อถึงมือผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ต่อไป   เช่น HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points) และ ISO 9000 อีกด้วย

ประเภทของ GMP

1. GMP สุขลักษณะทั่วไป หรือ General GMP ซึ่งเป็น หลักเกณฑ์ที่นำไปใช้ปฏิบัติสำหรับอาหารทุกประเภท
2. GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ หรือ Specific GMP ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่เพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไปเพื่อมุ่งเน้นในเรื่องความเสี่ยงและความปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์ อาหารเฉพาะมากยิ่งขึ้น

หลักการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไปสำหรับ GMP กฎหมาย

       ระบบ GMP อาหารเข้ามาในประเทศและเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 2529 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้นำระบบ GMP มาใช้พัฒนาสถานที่ผลิตอาหารของประเทศเป็นครั้งแรก ในลักษณะส่งเสริมและ ยกระดับมาตรฐานการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารแก่ ผู้ประกอบการแบบสมัครใจ  โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ดำเนินการในเรื่องนี้เป็นขั้นตอนตาม ลำดับ ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดเพื่อประเมินและกระตุ้นผู้ประกอบการให้มีความสนใจ ที่จะพัฒนาสถานที่ผลิตเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และหลังจากนั้นในปี 2535 เป็นต้นมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา   โดยกองควบคุมอาหารได้มีมาตรการให้การรับรองระบบ GMP (Certificate GMP) แก่ผู้ประกอบการในลักษณะสมัครใจ

แนวทางและขั้นตอนสู่ GMP ตามกฎหมาย         

            GMP ที่นำมาเป็นมาตรการบังคับใช้เป็นกฎหมายนั้น ได้นำแนวทางข้อกำหนดเป็นไปตามของ Codex (มาตรฐานสากลของโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากล แต่มีการปรับในรายละเอียดบางประเด็นหรือเป็นการปรับให้ง่ายขึ้น (Simplify) เพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้ผลิตอาหารภายในประเทศซึ่งสามารถปฏิบัติได้ จริง แต่ยังมีข้อกำหนดที่เป็นหลักการที่สำคัญเหมือนกับของ Codex แต่สามารถนำไปใช้ได้ กับสถานประกอบการทุกขนาด ทุกประเภท ทุกผลิตภัณฑ์ ตามสภาพการณ์ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนามาตรฐานสูงขึ้นมาจากหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐาน (Minimum Requirement) ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาใช้ในการพิจารณาอนุญาตผลิต  กล่าวได้ว่า GMP สุขลักษณะทั่วไปนี้ผู้ประกอบการสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ ในขณะที่กฎระเบียบข้อบังคับของหลักการสำคัญก็มีความน่าเชื่อถือในระดับสากล

         สำหรับ GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ (Specific GMP) นั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้กำหนดให้น้ำบริโภคเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตาม GMP เฉพาะ เนื่องจากการผลิตมีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนและลงทุนไม่มาก จากการตรวจสอบจำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา  ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการรายย่อยมีการผลิตโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ บริโภค ทำให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค  จึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการและหาวิธีการแก้ไขและป้องกันในเรื่องนี้อย่าง จริงจังมากขึ้น  ทั้งนี้ให้เน้นการควบคุมสถานที่และกระบวนการผลิต โดยใช้หลักการของ GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์เข้ามาเป็นหลักเกณฑ์บังคับทางกฎหมาย  เพื่อให้ผู้ผลิตน้ำบริโภคตระหนัก มีการควบคุม ตรวจสอบ และเห็นความสำคัญในเรื่องคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์

         GMP ที่เป็นกฎหมาย 2 ฉบับ คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543 และ (ฉบับที่ 239) พ.ศ.2544 เรื่อง  วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร (GMP สุขลักษณะทั่วไป) และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 220)  พ.ศ.2544 เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 3) (GMP น้ำบริโภค) มีผลบังคับใช้สำหรับผู้ผลิตอาหารรายใหม่ ตั้งแต่ วันที่ 24 กรกฎาคม 2544 ส่วนรายเก่ามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2546

          การกำหนด GMP ตามกฎหมายนี้ก็เพื่อให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับหลักการของสากลมากขึ้น  โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่ว่า อาหารที่ส่งออกและที่จำหน่ายภายในประเทศต้องมีคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย เท่ากัน

ข้อกำหนด GMP สุขลักษณะทั่วไป มีอยู่ 6 ข้อกำหนด ดังนี้    

      1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
      2. เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต
      3. การควบคุมกระบวนการผลิต
      4. การสุขาภิบาล
      5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
      6. บุคลากรและสุขลักษณะ

       ในแต่ละข้อกำหนดมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ผลิตมีมาตรการป้องกันการปน เปื้อน อันตรายทั้งทางด้านจุลินทรี เคมี และกายภาพลงสู่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจมาจากสิ่งแวดล้อม ตัวอาคาร เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ การดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนการผลิต รวมถึงการจัดการในด้านสุขอนามัยทั้งในส่วนของความสะอาด การบำรุงรักษา และผู้ปฏิบัติงาน


ที่มา  :  www.thaiyuh.com