วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กำจัดแมลงสาบสูตรตายรัง


พบสารกำจัดแมลงสาบสูตรตายรัง
เด็กนักเรียนประถมโรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์ หัวใสคิดค้นสารกำจัดแมลงสาบ สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคร้ายสูตรตายรังได้สำเร็จ สามารถกำจัดแมลงสาบได้ดีโดยไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สารกำจัดแมลงสาบ สัตว์ที่มีนิสัยทำลายข้าวของ ขับถ่ายสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น และเป็นตัวแพร่กระจายเชื้อโรคมาสู่คนมากมายได้แก่โรคทางเดินอาหาร อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ ภูมิแพ้ และโรคหอบหืด ที่นักเรียนโรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ค้นพบและสามารถกำจัดแมลงสาบให้กลับไปตายที่รังได้สำเร็จ มีส่วนประกอบสำคัญคือ ปูนซีเมนต์ผง แป้งข้าวจ้าว และโอวัลติน ซึ่งเมื่อนำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันมากที่สุดแล้วนำไปวางไว้ในที่ที่มีแมลงสาบซุกชุม พร้อมนำน้ำไปวางใกล้ๆ แมลงสาบจะมากินสารกำจัดแมลงสาบและน้ำแล้วจะกลับไปตายที่รังของมัน ซึ่งเป็นวิธีการกำจัดแมลงสาบที่ไม่มีพิษตกค้าง และเป็นอันตรายต่อมนุษย์เหมือนกับการกำจัดแมลงสาบโดยวิธีการใช้สารเคมีฉีดพ่น
เด็กหญิงเจนจิรา โพนยงค์ นักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 โรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์หนึ่งในผู้คิดค้นสารกำจัดแมลงสาบกล่าวว่า ส่วนประกอบของสารกำจัดแมลงสาบที่นำผสมกันจะมีคุณสมบัติและทำหน้าที่แตกต่างกันไปเช่น โอวัลตินจะเป็นสารที่ล่อให้แมลงสาบมากินสารกำจัดแมลงสาบ แป้งข้าวจ้าวจะทำให้แมงสาบหิวน้ำเมื่อกินเข้าไป ส่วนปูนซีเมนต์จะทำให้แมงสาบแน่นท้องและตายเมื่อกินสารกำจัดแมลงสาบและน้ำเข้าไป

โรคร้ายทุกชนิดเริ่มต้นที่ปาก

ปากของคนเราเต็มไปด้วยแบคทีเรีย

ปากของเราเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และโปรโตซัว แต่ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรีย เพราะปากเป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสม มีความร้อน ความชื้น และอุนหภูมิคงที่ ยังมีอาหารอุดมสมบูรณ์จากเศษอาหารที่เรารับประทาน กล่าวกันว่าปริมาณแบคทีเรียในปากของคนคนหนึ่ง มีมากกว่าจำนวนประชาการของคนทั้งโลก แบคทีเรียบางชนิดอาศัยอยู่บนผิวฟัน บางชนิดอยู่ในช่องว่างระหว่างฟันและเหงือก บางชนิดอยู่ที่เพดานปาก และบางชนิดอยู่ที่ใต้ลิ้นและโคนลิ้น การแปรงฟันและการใช้น้ำยาบ้วนปากช่วยลดปริมาณแบคทีเรียเหล่านี้ลงได้แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งไม่นานก็จะกลับมาแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นเช่นเดิม

  
   โรคร้ายทุกชนิดเริ่มต้นที่ปาก

อาจฟังดูเหลือเชื่อ แต่หากไม่นับโรคทางพันธุกรรม โรคทางอารมณ์ หรือโรคจากการบาดเจ็บต่างๆ โรคร้ายเกือบทุกชนิด รวมทั้งการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆล้วนเริ่มต้นที่ปาก เนื่องจากปากเป็นประตูเข้าสู่ร่างกาย การรับประทานอาหารไม่ถูกต้องหรืออาหารที่มีพิษ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ยิ่งกว่านั้นในปากและลำใส้ยังเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียนับพันล้านตัว บางชนิดเป็นอันตราย บางชนิดไม่ และบางชนิดเป็นประโยชน์ ถ้าแบคทีเรียเหล่านี้สามารถเข้าสู่กระแสเลือด แม้แต่แบคทีเรียชนิดที่ไม่เป็นอันตรายก็สามารถทำให้เราถึงแก่ความตายได้ หากในปากของเรามีแผล หรือมีการอักเสบของเหงือกหรือเนื้อเยื่อ จะทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยง่าย เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิดตั้งแต่โรคไขข้ออักเสบไปจนถึงโรคหัวใจ


ข้อมูลจาก  www.thaidentoz.com

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

นอนตื่นสาย ช่วยชาร์จพลังสมอง

 วันหยุดทั้งที หลายคนก็คงอยากจะนอนซุกตัวอยู่ใต้ผ้าห่มจนถึงช่วง สาย แต่บางคนอาจรู้สึกว่าการตื่นสายเป็นการสื่อถึงความขี้เกียจ อ๊ะ อ๊ะ อย่าเพิ่งคิดแบบนั้น

    เพราะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย ลีเบร เดอ บรูแซล (The Université Libre de Bruxelles) ประเทศเบลเยี่ยม ได้ทำการ ศึกษาโดยสแกนสมองเพื่อดู ความตื่นตัวและสมาธิของสมองในกลุ่มผู้ที่ตื่นเช้า (ประมาณ ตี 5 ถึง 6 โมงเช้า) และกลุ่มผู้ที่ตื่นสายมากๆ (ประมาณเที่ยงวัน) พบว่าหลังจากที่ตื่นนอนมาเป็นระยะเวลา 10 ชั่วโมงการทำงาน ของพื้นที่สมองของกลุ่มผู้ที่นอนตื่นเช้าจะลดลง เริ่มรู้สึกง่วง นอนมากขึ้นเรื่อยๆ และความสามารถในการทำงานต่างๆ ช้าลง เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ที่นอนตื่นสาย

วันหยุดก็นอนตื่นสายบ้าง ไม่เป็นไรหรอกค่ะ ให้สมอง ได้พักผ่อน หลังจากทำงานหนักมาหลายวัน


วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของทะเบียนรถและความหมาย


*ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกระบุว่า

1.รถ ยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน รถยนต์รับจ้างสามล้อ รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง และรถจักรยานยนต์รับจ้าง รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ได้แก่ รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ที่ใช้รับจ้างระหว่างจังหวัด โดยรับส่งคนโดยสารได้เฉพาะที่นายทะเบียนกำหนด

- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเหลืองสะท้อนแสง

- ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็น

สีแดง สำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด

สีดำ สำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์

สีเขียว สำหรับรถยนต์รับจ้างสามล้อ

สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง

2.รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร รถยนต์บริการให้เช่า

รถยนต์บริการธุรกิจ เช่น รถที่ใช้ขนคนในสนามบิน ท่าเรือ สถานีขนส่ง หรือสถานีรถไฟ และรถโรงแรม

รถยนต์บริการทัศนาจร เช่น รถนำเที่ยวของบริษัททัวร์ โดยรถพวกนี้

-พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเขียวสะท้อนแสง

-ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็นสีขาว

3.รถ ยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ พวกรถส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเก๋ง รถตู้ รถกระบะ มอเตอร์ไซค์ รถ MPV หรือรถ SUV โดย

-พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาวสะท้อนแสง

-ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็น

สีดำ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์

สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน

สีเขียว สำหรับรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล

สีแดง สำหรับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล

หมาย เหตุ จะมีแผ่นป้ายทะเบียนชนิดพิเศษ พวกเลขสวย โดยจะเป็นป้ายที่ออกให้ประมูล ซึ่งจะมีสีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียน หมายเลขทะเบียน และตัวอักษรต่างไปจากแผ่นป้ายทะเบียนปกติ และแต่ละจังหวัด สีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียนก็จะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ตามประกาศของกรมการขนส่งทางบก (ยกเว้นรถสามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ ไม่มีป้ายพิเศษนี้)

4.รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม

-พื้นแผ่นป้ายเป็นสีส้มสะท้อนแสง

-ตัวอักษร หมายเลข และขอบป้ายเป็นสีดำ

5.รถยนต์ของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต และรถจักรยานยนต์ของคณะผู้แทนทางการทูต

พวกรถทูต ลักษณะป้ายจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ท ตามด้วยรหัสประเทศ ขีด แล้วก็เลขทะเบียน ตัวอย่างเช่น รถทูตญี่ปุ่นก็จะเป็น ท44-9999

-พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาว (สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง)

-ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีดำ

6.รถ ยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต ในคณะผู้แทนทางกงสุล ในองค์การระหว่างประเทศ หรือทบวงการชำนาญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย และรถจักรยานยนต์ของบุคคลข้างต้น ลักษณะป้ายก็เหมือนรถทูต แต่ต่างกันตรงที่รถในหน่วยงานพิเศษของสถานทูตจะใช้ตัวอักษร พ ส่วนรถกงสุลจะใช้ตัวอักษร ก ส่วนรถของสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ในไทย จะใช้ตัวอักษร อ และ

-พื้นแผ่นป้ายเป็นสีฟ้า (สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง)

-ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีขาว

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ ขนาด และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ พ.ศ.2547

ส่วนแผ่นป้ายแดง พ.ร.บ.รถยนต์ 2522 กำหนดให้ขับขี่ได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน

จะนำมาขับในถนนหลวงไม่ได้เว้นแต่ได้รับอนุญาต

จุดประสงค์การใช้งานรถป้ายแดงคือ

1.รถมีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม

2.เป็นรถใหม่


ที่มา : tamdee.net

อันตรายคนที่ชอบกินผักกระเฉด ผักบุ้ง


อันตรายคนที่ชอบกินผักกระเฉด ผักบุ้ง

กระทรวงสาธารณสุขได้เตือนให้ประชาชนระวังการบริโภคผักบุ้ง
ผักกระเฉดที่ไม่ ผ่านการต้มเดือดถึง500 องศาเซลเซียส
ว่าอาจจะได้รับอันตรายจากศัตรูตัวใหม่ที่เรียกว่า "ไข่ ปลิง"
เพราะเจ้าไข่ปลิงตัวนี้สามารถทนความร้อนได้สูงมาก
เพราะฉะนั้นถ้าท่านจะรับประทานผักบุ้ง
หรือผักกระเฉดต้องต้มกันเป็นชั่วโมง
ถึงจะสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย
ดังนั้นท่านจึงควรรับ ประทานอาหารที่ปรุงด้วยกรรม
วิธีอื่นจะดีกว่าประเภทยำ
เพราะส่วนใหญ่อาหารประเภทยำจะนำไปผ่านความร้อน
เพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น เอง ก็นำขึ้นมารับประทานแล้ว
ดังนั้นจึงไม่สามารถทำลายไข่ปลิงได้ถ้าให้ดีควรเลี่ยงไปรับประทานผักชนิดอื่นจะดีกว่า
เพราะขั้นตอนในการทำความสะอาดก่อนจะนำมาต้มจะง่ายกว่า
การ ทำความสะอาดผักบุ้ งและผักกระเฉด
มีนักศึกษาแพทย์ศิริราชเคยไปทานสุกี้ที่ร้านแห่งหนึ่งมีชื่อคล้าย
ก่อนที่จะนำผักบุ้งใส่ในหม้อต้มน้ำบัง เอิญเธอผู้นั้น!
เหลือบไปเห็นเจ้าไข่ปลิงเกาะอยู่ที่ใบของผักบุ้งซึ่งเธอ
เพิ่งจะได้รับความรู้เกี่ยวกับอันตรายของไข่ปลิงมาจากหลักสูตร
ซึ่งเธอเพิ่งจะเรียนผ่านมานี้เองดังนั้นเธอจึงตัดสินใจไม่รับประทานผักบุ้งนั้นเลย
และเปลี่ยนเป็นสั่งผักชนิดอื่นมารัประทานแทน
เมื่อทุกท่านทราบอย่างนี้แล้วท่านก็ตัดสินใจเองก็แล้วกัน
ว่าจะรับประทานผัก บุ้งและผักกระเฉดต่อไป
หรือไม่ก็ระวังกันไว้ด้วยนะใครที่ชอบทานผักทั้ง 2
ประเภทต่อไปคงเลิกทาน

 
ขอขอบคุณ   http://fwmail.teenee.com

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ริดสีดวงทวารหนัก


ริดสีดวง...เป็นแล้วอย่าชะล่าใจ


  ขึ้นชื่อว่า “ริดสีดวงทวารหนัก” ก็พาลให้นึกถึงวลีสุดฮิต “ลมมันเย็นนนนน” ที่สะท้อนความยากลำบากในการขับถ่ายและความเจ็บปวดในการนั่ง นับตั้งแต่อาการแสบๆ คันๆ จนถึงปวดขนาดลุกนั่งสะท้านใจ! แม้ริดสีดวงจะไม่ร้ายแรงถึงชีวิตแต่ก็ไม่ควรมองข้ามสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงยิ่งต้องระวัง มิฉะนั้นอาจสายเกินไป

  
ริดสีดวง...  ชื่อนี้ไม่ได้มีแต่เสีย

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าหากมีอาการคัน เจ็บและแสบบริเวณปากทวารและมีเลือดออกเมื่อขับถ่ายอุจจาระ เป็นสัญญาณบ่งบอกของริดสีดวงทวารหนัก ซึ่งความจริงแล้วอาจมาจากสาเหตุอื่นที่คล้ายกัน เช่น แผลแยกบริเวณปากทวาร ฝี โรคติดเชื้อของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เกิดการอักเสบจากเชื้อรา ฯลฯ แต่ด้วยความที่เกิดใกล้ๆ กับบริเวณปากทวารจึงทำให้คนเข้าใจผิด และเหมารวมว่าเป็นริดสีดวงทวารไปเสีย ดังนั้นเพื่อความเข้าใจรวมถึงแนะวิธีสังเกตและรักษาริดสีดวงทวารหนักอย่างถูกต้อง นพ.ชิงเยี่ยม ปัญจปิยะกุล ศัลยแพทย์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “โดยธรรมชาติทุกคนมีริดสีดวงทวารอยู่แล้ว คือเป็นเนื้อเยื่อภายในช่องทวารอยู่เหนือปากทวารหนักประมาณ 3 เซนติเมตร หรือที่เรียกว่าเบาะรอง (cushion) มีอยู่ 3 ตำแหน่ง ซึ่งหากเปรียบกับทิศทางนาฬิกาก็คือ ตำแหน่งที่ 3, 7 และ 11 นาฬิกา เนื้อเยื่อเหล่านี้ช่วยทำให้การขับถ่ายอุจจาระเป็นไปอย่างสะดวก ไม่ทำให้ทวารหนักฉีกขาดและทำให้รูทวารหนักปิดสนิท ไม่มีอุจจาระเล็ดรอด แต่ “ริดสีดวง” ที่เป็นผู้ประสานงานอย่างดีจะกลายเป็นตัวปัญหาก่อให้เกิดความรำคาญ เมื่อหลอดเลือดบริเวณนั้นผิดปกติอันเนื่องมาจากท้องผูกเป็นประจำ ทำให้ต้องเบ่งมากทุกครั้งที่ถ่าย นั่งห้องน้ำนานๆ เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ในห้องน้ำ หรือพยายามเบ่งถ่ายทั้งๆ ที่ไม่ปวดถ่าย หรือในกรณีของผู้สูงอายุที่กล้ามเนื้อหย่อนยาน หญิงตั้งครรภ์ที่มดลูกขยายใหญ่เบียดอุ้งเชิงกรานทำให้เลือดบริเวณนั้นไหลกลับไม่สะดวก เช่นเดียวกับคนที่เป็นโรคตับแข็งและม้ามโต ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเบาะรองเกิดการโป่งพอง และขยายตัวเป็นก้อนเบียดออกด้านข้างหรือเลื่อนต่ำลงมา จนกลายเป็นริดสีดวงทวารหนักที่เป็นปัญหา”

  
  ชนิดของริดสีดวงทวารหนัก

ริดสีดวงทวารหนักแบ่งเป็นสองชนิดตามลักษณะตำแหน่งการเกิด นั่นคือ

    ริดสีดวงภายนอก เป็นติ่งเนื้อเยื่อที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้รอบๆ ทวารหนัก อาจมีอาการคันจนกระทั่งเจ็บปวดมาก ทำให้รบกวนการลุกนั่งไม่สะดวก วิธีการรักษาคือ ผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหา
    ริดสีดวงทวารหนักภายใน มักไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ เพราะเกิดอยู่ภายในทวารเหนือเส้นประสาทรับความรู้สึก อาการที่สังเกตได้คือ มีเลือดออกสีแดงสดหลังถ่ายอุจจาระ คนที่เป็นมากๆ อาจเห็นเป็นหยดเลือดไหลเป็นสายบริเวณโถส้วม ซึ่งริดสีดวงทวารหนักภายในสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะตามความรุนแรงที่เป็นคือ

    ระยะที่ 1 เมื่อส่องกล้องตรวจดูจะพบว่ามีเพียงติ่งเนื้อยื่นออกมา สามารถรักษาด้วยการแช่ก้นด้วยน้ำอุ่น การใช้ยาเหน็บ ยาทา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่ นั่นคือกินผักและผลไม้เพื่อเพิ่มกากใยอาหารเพื่อป้องกันท้องผูก

    ระยะที่ 2  หัวริดสีดวงทวารหักโผล่ออกมาขณะเบ่งถ่ายและหดกลับเข้าไปเองหลังถ่ายอุจจาระ ติ่งเนื้อยื่นออกมาบ่อยเวลาถ่าย มีเลือดออกเช่นเดียวกับระยะที่ 1 บวกกับอาการคัน หรือมีมูกแฉะบริเวณทวารหนักร่วมด้วย วิธีการรักษาคือการฉีดยาทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นหดตัวฝ่อ หรือการใช้หนังยางพิเศษรัดเพื่อทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นขาดเลือด ทำให้เนื้อเยื่อตายแล้วหลุดออกมาเองประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งคนที่เป็นจะไม่รู้สึกเจ็บ ไม่ต้องวางยาสลบ และ สามารถกลับบ้านได้เลย ทั้งนี้ระหว่างที่เนื้อเยื่อหลุดออกจะมีเลือดซึมออกมาบ้าง จึงต้องใช้ผ้าอนามัยรองซับ

    ระยะที่ 3  และ 4 มีลักษณะใกล้เคียงกันคือ หัวริดสีดวงทวารหนักจะโผล่ออกมาเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระ ไอ จาม การยกของหนัก ระยะนี้จำเป็นต้องใช้มือดันเข้าไป แต่ก็มักโผล่ออกมาอีก กลายเป็นติ่งยื่นอยู่ภายนอกทวาร หากหัวริดสีดวงทวารหนักเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ ก็จะสร้างความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก ซึ่งระยะนี้มักพบว่าเป็นทั้งริดสีดวงภายนอกและภายในพร้อมกัน จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดรักษา ซึ่งปัจจุบันมีทั้งการผ่าตัดใช้มีดปกติ การใช้เลเซอร์ การใช้เครื่องมือตัดเย็บหัวริดสีดวงอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการตัดควั่นเอาริดสีดวงทวารหนักภายในและเย็บทันที เป็นต้น  การเลือกวิธีการผ่าตัดต้องพิจารณาความเหมาะสมตามความรุนแรงและขนาดของริดสีดวงทวารหนักของแต่ละคน บวกกับความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์ แต่ที่สำคัญคือ วางใจได้ว่าหลังการผ่าตัดแล้วหูรูดจะไม่เสียอย่างที่เข้าใจกัน
    การดูแลตัวเองหลังการรักษาหรือผ่าตัดริดสีดวงทวารหนัก

      
       การรักษาริดสีดวงทวารหนักในระยะต้นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาแบบไปเช้าเย็นกลับ สามารถทำได้ที่คลินิกและโรงพยาบาล ยกเว้นกรณีที่ต้องผ่าตัดรักษา คุณหมอจะต้องวางยาสลบและให้พักฟื้นที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการต่อสักระยะ ทั้งนี้การดูแลรักษาตนเองหลังการรักษาหรือผ่าตัดริดสีดวงทวารหนักที่สำคัญก็เช่น
        การแช่ก้นในน้ำอุ่นเช้า-เย็น ครั้งละ 15-30 นาที ในช่วงสัปดาห์แรก เพื่อทำให้แผลริดสีดวงทวารที่เพิ่งผ่าตัดสะอาด ลดการติดเชื้อ บวมและแสบได้ดี แต่หากไม่สะดวกสามารถใช้สายชำระฉีดทำความสะอาดตามปกติได้เช่นกัน โดยไม่ต้องใช้สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดเฉพาะที่ใดๆ
        หลีกเลี่ยงการสวนทวารด้วยยาสวน เพราะอาจระคายแผลที่เพิ่งรักษาเกิดการบวม และอักเสบได้ โดยเฉพาะการรัดหนังยาง แต่ระหว่างนี้อาจกินยาระบายเพื่อช่วยทำให้อุจจาระนิ่ม แผลที่เพิ่งผ่าตัดก็จะหายเร็วมากขึ้น
        ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายเสียใหม่ เพื่อป้องกันการกลับไปเป็นริดสีดวงทวารหนักอีกครั้ง นั่นคือพยายามอย่าให้ท้องผูก ดื่มน้ำมากๆ รับประทานผัก ผลไม้และธัญพืชที่มีกากใยอาหารมาก  ไม่นั่งห้องน้ำนานๆ หากไม่ปวดถ่าย การไม่กลั้นอุจจาระ การไม่ใช้ยาระบายพร่ำเพรื่อจนทำให้เกิดอาการท้องผูก
        ริดสีดวงทวารหนัก VS มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

          
           คุณหมอชิงเยี่ยมตอบข้อสงสัยนี้ที่มีคนถามกันมากว่า “การเป็นริดสีดวงทวารหนักไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แต่ริดสีดวงเป็นสาเหตุที่ทำให้เรามองข้ามถึงสัญญาณอันตรายที่เตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เนื่องจากทั้งสองอาการมีสาเหตุอย่างเดียวกันคือ ท้องผูกเรื้อรัง แถมยังมีเลือดออกทางทวารหนักคล้ายคลึงกัน ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการขับถ่ายอุจจาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่มากกว่า 50 ปีขึ้นไป หมอแนะนำว่าให้มาตรวจเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง อย่าเดาเอาเอง เพราะนอกจากจะรักษาไม่ตรงจุดหรือถูกวิธีแล้ว มันอาจเป็นการตัดโอกาสในการรักษาที่จะตัดไฟแต่ต้นลมหากเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก” 

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความหมาย มาตรฐาน GMP ในอาหารคืออะไร


 GMP (Good Manufacturing Practice) 
หมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ ผลิตปฏิบัติตาม และทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตราย หรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

       GMP เป็นระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติ และพิสูจน์จากกลุ่มนักวิชาการด้านอาหารทั่วโลกแล้วว่าสามารถทำให้อาหารเกิด ความปลอดภัย เป็นที่เชื่อถือยอมรับจากผู้บริโภค โดยอาศัยหลายปัจจัยที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ดังนั้นหากยิ่งสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดได้ทั้งหมด ก็จะทำให้อาหารมีคุณภาพมาตรฐานและมีความปลอดภัยมากที่สุด

 หลักการของ GMP จึงครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร ระบบการผลิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีคุณภาพ ได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต  ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป  การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค   มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึง ระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย (Sanitation และ Hygiene) ทั้งนี้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีคุณภาพและความปลอดภัย   เป็นที่มั่นใจเมื่อถึงมือผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ต่อไป   เช่น HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points) และ ISO 9000 อีกด้วย

ประเภทของ GMP

1. GMP สุขลักษณะทั่วไป หรือ General GMP ซึ่งเป็น หลักเกณฑ์ที่นำไปใช้ปฏิบัติสำหรับอาหารทุกประเภท
2. GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ หรือ Specific GMP ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่เพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไปเพื่อมุ่งเน้นในเรื่องความเสี่ยงและความปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์ อาหารเฉพาะมากยิ่งขึ้น

หลักการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไปสำหรับ GMP กฎหมาย

       ระบบ GMP อาหารเข้ามาในประเทศและเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 2529 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้นำระบบ GMP มาใช้พัฒนาสถานที่ผลิตอาหารของประเทศเป็นครั้งแรก ในลักษณะส่งเสริมและ ยกระดับมาตรฐานการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารแก่ ผู้ประกอบการแบบสมัครใจ  โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ดำเนินการในเรื่องนี้เป็นขั้นตอนตาม ลำดับ ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดเพื่อประเมินและกระตุ้นผู้ประกอบการให้มีความสนใจ ที่จะพัฒนาสถานที่ผลิตเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และหลังจากนั้นในปี 2535 เป็นต้นมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา   โดยกองควบคุมอาหารได้มีมาตรการให้การรับรองระบบ GMP (Certificate GMP) แก่ผู้ประกอบการในลักษณะสมัครใจ

แนวทางและขั้นตอนสู่ GMP ตามกฎหมาย         

            GMP ที่นำมาเป็นมาตรการบังคับใช้เป็นกฎหมายนั้น ได้นำแนวทางข้อกำหนดเป็นไปตามของ Codex (มาตรฐานสากลของโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากล แต่มีการปรับในรายละเอียดบางประเด็นหรือเป็นการปรับให้ง่ายขึ้น (Simplify) เพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้ผลิตอาหารภายในประเทศซึ่งสามารถปฏิบัติได้ จริง แต่ยังมีข้อกำหนดที่เป็นหลักการที่สำคัญเหมือนกับของ Codex แต่สามารถนำไปใช้ได้ กับสถานประกอบการทุกขนาด ทุกประเภท ทุกผลิตภัณฑ์ ตามสภาพการณ์ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนามาตรฐานสูงขึ้นมาจากหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐาน (Minimum Requirement) ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาใช้ในการพิจารณาอนุญาตผลิต  กล่าวได้ว่า GMP สุขลักษณะทั่วไปนี้ผู้ประกอบการสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ ในขณะที่กฎระเบียบข้อบังคับของหลักการสำคัญก็มีความน่าเชื่อถือในระดับสากล

         สำหรับ GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ (Specific GMP) นั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้กำหนดให้น้ำบริโภคเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตาม GMP เฉพาะ เนื่องจากการผลิตมีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนและลงทุนไม่มาก จากการตรวจสอบจำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา  ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการรายย่อยมีการผลิตโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ บริโภค ทำให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค  จึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการและหาวิธีการแก้ไขและป้องกันในเรื่องนี้อย่าง จริงจังมากขึ้น  ทั้งนี้ให้เน้นการควบคุมสถานที่และกระบวนการผลิต โดยใช้หลักการของ GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์เข้ามาเป็นหลักเกณฑ์บังคับทางกฎหมาย  เพื่อให้ผู้ผลิตน้ำบริโภคตระหนัก มีการควบคุม ตรวจสอบ และเห็นความสำคัญในเรื่องคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์

         GMP ที่เป็นกฎหมาย 2 ฉบับ คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543 และ (ฉบับที่ 239) พ.ศ.2544 เรื่อง  วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร (GMP สุขลักษณะทั่วไป) และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 220)  พ.ศ.2544 เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 3) (GMP น้ำบริโภค) มีผลบังคับใช้สำหรับผู้ผลิตอาหารรายใหม่ ตั้งแต่ วันที่ 24 กรกฎาคม 2544 ส่วนรายเก่ามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2546

          การกำหนด GMP ตามกฎหมายนี้ก็เพื่อให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับหลักการของสากลมากขึ้น  โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่ว่า อาหารที่ส่งออกและที่จำหน่ายภายในประเทศต้องมีคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย เท่ากัน

ข้อกำหนด GMP สุขลักษณะทั่วไป มีอยู่ 6 ข้อกำหนด ดังนี้    

      1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
      2. เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต
      3. การควบคุมกระบวนการผลิต
      4. การสุขาภิบาล
      5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
      6. บุคลากรและสุขลักษณะ

       ในแต่ละข้อกำหนดมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ผลิตมีมาตรการป้องกันการปน เปื้อน อันตรายทั้งทางด้านจุลินทรี เคมี และกายภาพลงสู่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจมาจากสิ่งแวดล้อม ตัวอาคาร เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ การดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนการผลิต รวมถึงการจัดการในด้านสุขอนามัยทั้งในส่วนของความสะอาด การบำรุงรักษา และผู้ปฏิบัติงาน


ที่มา  :  www.thaiyuh.com

กินเจให้ถูกต้อง





        (กินเจ) เป็นคำที่คุ้นหูกันมากสำหรับบรรดาสาธุชนผู้ใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรมทั้งหลาย แต่สำหรับคนทั่วไปส่วนใหญ่ยังคงคิดกันไปว่า การกินเจเป็นเรื่องของคนที่เชื่อบาปเชื่อบุญมากกว่า จะเห็นว่าแท้จริงแล้วการกินเจเป็นเรื่องของเหตุและผลที่ถูกต้องดีงาม มีคำกล่าวว่า (คนเราจะยืนได้ ขาทั้งสองต้องแข็งแรงเสียก่อน) ความหมายก็คือ ก่อนที่เราจะลงมือปฏิบัติการงานใดๆ ก็ตาม จำเป็นต้องมีพื้นฐานที่มั่นคงเสียก่อน สิ่งสำคัญสองประการที่จะช่วยเหลือค้ำจุนให้เรามีรากฐานที่มั่นคง ได้แก่


          ประการที่ 1 คือ "ความรู้" เราต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่จะปฏิบัติให้ดีเสียก่อน โดยอาศัยการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน มามากพอสมควร

          ประการที่ 2 คือ "สติปัญญา" เราต้องรู้จักใช้สติปัญญาเข้าไปพิจารณาความรู้เหล่านั้นอย่างรอบคอบ จนบังเกิดความเข้าใจกระจ่างชัดถึงเหตุและผล โดยถูกต้องถ่องแท้ หากจะลงมือปฏิบัติการใดๆ โดยขาดทั้งความรู้และสติปัญญาพิจารณา ก็ยากที่จะสำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อไม่ศึกษาก็ไม่รู้ รู้แล้วไม่พิจารณาก็ไม่เข้าใจ แต่ผู้ที่ศึกษาจนเข้าใจดีแล้ว ยังไม่ลงมือปฏิบัติก็ไร้ประโยชน์ โอสถทิพย์แม้จะวิเศษล้ำเลิศสักปานใด หากคนไม่ยอมกิน ผลดีนั้นก็ไม่มีทางจะเกิดขึ้นแก่เขาได้เลย การกินเจเป็นเรื่องรู้ได้เฉพาะตน ผู้ที่ได้ปฏิบัติแล้วเท่านั้นจึงจะประจักษ์แจ้งถึงคุณวิเศษ อันล้ำเลิศได้ด้วยตนเอง

          บทความเรื่อง "การกินเจ" นี้ จึงมุ่งหวังให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาในอีกแง่มุมหนึ่งของการกินเจ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน และเรียนรู้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นต่อไปภายหน้า ฉะนั้นขอให้ผู้ที่มีรากบุญกุศล อันสร้างสมมาแล้วในอดีต และตั้งใจจะปฏิบัติบำเพ็ญต่อไปในชาตินี้ควรศึกษา "การกินเจ" ให้เข้าใจกระจ่างแจ้ง เมื่อใดที่ศรัทธามั่นคงดีแล้ว จิตย่อมบังเกิดมีพลังแกร่งกล้า สามารถฝ่าฟันอุปสรรคทั้งหลาย บนเส้นทางของการบำเพ็ญธรรม และแล้วเมื่อนั้นเราก็จะสามารถบรรลุสู่เป้าหมายอันสูงสุดไปได้โดยไม่ยากเลย

ความหมายของคำว่า (เจ)

         คำว่า (เจ) ในภาษาจีนมีความหมายทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานว่า "อุโบสถ" คำว่า "กินเจ" ตามความหมายที่แท้จริงคือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน ดังเช่นที่ชาวพุทธในประเทศไทยถือ "อุโบสถศีล" หรือ "รักษาศีล 8" จะไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีล ของชาวพุทธฝ่ายมหายานไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมเรียก "การไม่กินเนื้อสัตว์" ไปรวมกันคำว่า "กินเจ" ซึ่งเป็นการถือศีลไปด้วย ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่า "กินเจ" ฉะนั้นความหมายก็คือ "คนกินเจ" มิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่คนที่กินเจ ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์สะอาด งดงามทั้งกาย วาจา ใจ เป็นการถือศีลบำเพ็ญธรรมไปด้วยพร้อมกัน เช่นนี้แล้วจึงจะเรียกว่า "กินเจที่แท้จริง" ดังนั้น คำคล้องจองที่เราได้ยินอยู่เสมอ คือ "ถือศีลกินเจ" จึงนับว่ามีความหมายสมบูรณ์ครบถ้วนอยู่ในตัวเองแล้ว  

          ตามร้านขาย "อาหารเจ" เราจะพบเห็นตัวอักษร คำนี้อ่าน ไจ... (เจ) แปลว่า "ไม่มีของคาว" เขียนด้วยสีแดงบนพื้นสีเหลืองเสมอ ในช่วงเทศกาลกินเจเดือน 9 จะเห็นตัวอักษรนี้เขียนบนธงสีเหลือง ปักอยู่ตามแผงขายอาหารเจมองเห็นเป็นที่สะดุดตาแก่คนทั่วไป ชาวจีนถือว่าสีแดงเป็นสีแห่งสิริมงคลแก่ชีวิต สีเหลืองเป็นสีของผู้ทรงศีล ดังนั้นผู้ตั้งใจถือศีลบำเพ็ญตนให้บริสุทธิ์ ตัวอักษรนี้ย่อมเป็นเครื่องหมายเตือนสติให้ระลึกไว้เสอมว่า "การกินเจงดเว้นเนื้อสัตว์ของคาวคือ การปฏิบัติธรรม รักษาศีลของความเป็นมนุษย์ เป็นการเจริญมหาเมตตากรุณาธรรมโดยแท้ อันจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และก่อให้เกิดสันติสุขแก่ทุกชีวิตบนโลก"

รู้และเข้าใจในการกินเจอย่างถูกต้อง

         ตั้งแต่โบราณกาลนับเป็นพันๆ ปีจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันไม่ว่าโลกจะผันแปรไปในทิศทางใดก็ตาม คนจำนวนหลายพันหลายหมื่นครอบครัวที่ดำรงชีวิตอยู่ ด้วยการรับประทานแต่อาหารเจสืบทอดจากบรรพบุรุษก็ยังมีอยู่ให้พบเห็นได้ในทุกวันนี้  

        (อาหารเจ) เป็นอาหารที่ปรุงขึ้นมาจากพืชผักธรรมชาติล้วนๆ ไม่มีเนื้อสัตว์ปะปนและที่สำคัญต้องไม่ปรุงด้วยผักฉุนทั้ง 5 ได้แก่

        กระเทียม  
        หัวหอม  
        หลักเกียว  
        กุ้ยฉ่าย  
        ใบยาสูบ  

          บรรพชนในแต่ละครัวเรือนของคนกินเจได้ถ่ายทอดหลักของการกินเจที่ถูกต้อง และศิลปะในการปรุงไว้ให้แก่ลูกหลานของตน สืบต่อเนื่องกันมาโดยไม่ขาดสาย คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าอาหารเจเป็นอาหารที่มีรสจืดชืดไม่อร่อย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไม่มีโอกาสลิ้มรสอาหารเจที่แท้จริงก็เป็นได้ อาหารเจมีรสชาดอร่อยกลมกล่อมต่างไปจากอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารเจไม่มีกลิ่นเหม็นคาวๆ ใดเลย อาหารเจบางอย่าง  คนทั่วไปที่รับประทานแต่อาหารเนื้อจะไม่มีโอกาสรู้จักหรือได้ลิ้มรสเลยในชีวิต เนื่องด้วยอาหารเหล่านั้นทำขึ้นรับประทานกันเฉพาะในบรรดากลุ่มคนที่กินเจเท่านั้น บางคนมักคิดเอาเองว่า หากรับประทานแต่อาหารเจจะทำให้เป็นโรคขาดอาหาร แต่ทางการแพทย์กลับยืนยันว่าไม่ว่าจะเป็นคนที่กินอาหารเนื้อหรือคนที่กินเจ ก็มีสิทธิ์เป็นโรคขาดอาหารได้เท่ากัน

          สาเหตุสำคัญของโรคขาดอาหารในคนทั้ง 2 กลุ่ม ก็คือการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลัก บริโภคอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต แป้งและน้ำตาล โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ เป็นเหตุให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ไม่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโรคขาดอาหารไม่ได้ขึ้นอยู่กับการกินเนื้อหรือกินเจ แต่ขึ้นอยู่กับนิสัยกินตามใจ เลือกกินแต่อาหารที่ตนชอบ โดยไม่คำนึงถึงคุณประโยชน์ที่จะได้จากการรับประทานอาหารนั้นๆ ในความเป็นจริงแล้ว คนที่กินเจอย่างถูกหลักจะรู้สึกว่าตนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่า มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายครบถ้วนสมบูรณ์มากกว่าคนที่บริโภคอาหารเนื้อเสียอีก

          ผู้ที่ทดลองรับประทานอาหารเจได้ระยะหนึ่งถึงกับกล่าวว่า "การรับประทานอาหารเจ ทำให้มีโอกาสได้กินพืชผักที่มีคุณประโยชน์มากมายหลายชนิด ซึ่งในระหว่างที่รับประทานอาหารเนื้อไม่เคยใส่ใจเลย" คนกินเจ รู้จักวิธีดัดแปลงแปรรูปธัญพืชในธรรมชาติให้ได้มาซึ่งโปรตีน เราจะพบเห็นผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากเมล็ดถั่วเหลืองมากมายหลายชนิด เช่น น้ำนมถั่วเหลือง (น้ำเต้าหู้) เต้าหู้ขาว เต้าหู้เหลือง เต้าเจี้ยว น้ำมันถั่วเหลือง ซี่อิ๊ว ฟองเต้าหู้ ฯลฯ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งโปรตีนอันอุดมและมีคุณค่าสูงยิ่ง ทุกวันนี้ไม่ว่าเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ นิยมบริโภคแต่เนื้อสัตว์กันมากจนละเลยอาหารผักซึ่งมีคุณประโยชน์สูงไปอย่างน่าเสียดาย หลายคนมีนิสัยเลือกรับประทานเฉพาะเนื้อสัตว์แล้วเขี่ยผักทิ้งไม่ยอมบริโภค นี้แหละเป็นสาเหตุสำคัญของโรคขาดสารอาหาร ทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารครบตามที่ต้องการ จะพบว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ทานผักน้อยหรือไม่ทานเลยมักป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคขาดอาหาร ขาดวิตามิน โรคกระเพาะ โรคเกี่ยวกับลำไล้และทางเดินอาหาร สุขภาพไม่แข็งแรง เชื่องซึม ไม่เฉลียวฉลาด ขาดปฏิภาณไหวพริบ สติปัญญาต่ำ พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจไม่สมบูรณ์

          ประจักษ์พยานสำคัญที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความล้ำค่าของอาหารเจก็คือ บรรดาครอบครัวของผู้ที่กินเจตั้งแต่บรรพบุรุษสืบต่อกันลงมาหลายชั่วคน ก็ยังคงมีให้เราพบเห็นอยู่จนทุกวันนี้ จากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งต่อเนื่องกัน หลักเกณฑ์ที่ถูกต้องดีงามและทรงคุณค่า ก็ยังอยู่เป็นอมตะไม่เปลี่ยนแปลง ทุกๆ คน ทุกๆ ครอบครัวที่บริโภคแต่อาหารเจ ล้วนมีพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคร้ายแรงเบียดเบียน และสามารถปฏิบัติภาระกิจการงานได้เป็นอย่างดี แม้แต่ทารกที่เกิดจากมารดาซึ่งกินเจอย่างถูกหลัก ก็ไม่พบว่าขาดสารอาหารแต่อย่างใด ตรงกันข้าม เด็กๆ ทุกคนล้วนมีร่างกายแข็งแรงสุขภาพอนามัยดีไม่เป็นโรคติดต่อใดๆ ได้ง่าย มีภูมิต้านทานสูง จิตใจเบิกบาน ร่าเริงสดใส เฉลียวฉลาด ปฏิภาณไหวพริบ สติปัญญาดี เพราะฉะนั้นคนเราถึงจะมีฐานะดี ร่ำรวยมหาศาล แต่หากไม่รู้จักรับประทานอาหารให้ถูกต้องครบถ้วน ก็เป็นโรคขาดสารอาหารได้พอๆ กับคนยากจนอดอยากที่ไม่มีจะกิน

          ไม่ว่าท่านจะกินเนื้อหรือกินเจ หากกินไม่ถูกต้องก็มีสิทธิ์เป็นโรคขาดอาหารได้เท่ากัน พึงตะหนักไว้อยู่เสมอว่า "ทรัพย์สินเงินทองซื้อสุขภาพไม่ได้ สุขภาพที่ดีขึ้นอยู่กับการรู้จักปฏิบัติตัวของท่านเอง" แม้ในปัจจุบันนี้ จะเป็นโลกของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ล้ำยุค แต่การค้นพบความเร้นลับต่างๆ ในธรรมชาติ ได้กลับกลายมาเป็นข้อพิสูจน์ยืนยันให้แก่หลักเกณฑ์ของการกินเจที่มีมานานนับเป็นพันๆ ปี ได้อย่างเหมาะสมคล้องจองจนแทบไม่น่าเชื่อ ฉะนั้น เราควรหันมาศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า "คนกินเจ" เขามีหลักปฏิบัติอันสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลอย่างไร

หลักในการปรุง และรับประทานอาหารเจที่ถูกต้อง

           ชาวต่างประเทศจำนวนมากที่เดินทางไปประเทศจีน มักจะพากันแปลกประหลาดใจ เมื่อได้พบเห็นภัตตาคาร ซึ่งบริการ "ปรุงอาหารตามใบสั่งแพทย์" มูลเหตุที่สร้างความฉงนสงสัยให้แก่บรรดาผู้มาเยือน ก็เนื่องด้วยทางภัตตาคารจะบริการอาหาร ให้แต่เฉพาะผู้ที่มี "ใบสั่งอาหารของแพทย์" เท่านั้น นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่เคยทราบเลยว่า ลูกค้าที่เข้าไปในภัตตาคารดังกล่าว เป็นคนไข้ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์และอยู่ในระหว่าง "การบำบัดโรคด้วยอาหารตามหลักเวชศาสตร์โบราณ" ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่แตกต่างไปจากการรักษาโรคโดยให้ผู้ป่วย "กินยา ตามใบสั่ง" ซึ่งเป็นวิธีที่แพทย์แผนปัจจุบันชาวตะวันตกนิยมปฏิบัติ แต่ในหมู่ชนชาวจีนมีคำกล่าวว่า "อาหารและยามาจากแหล่งเดียวกัน" คำพูดนี้ได้บ่งชี้ว่า อาหารก็คือยานั่นเอง  

          หลักการแพทย์ของจีนมุ่งเน้นไปที่การป้องกันไม่ให้ร่ายกายเจ็บป่วย โดยวิธีดูแลรักษาสุขภาพให้ดี ไม่ใช่เพียงแต่บำบัดอาการเมื่อเกิดเจ็บป่วยขึ้นแล้วเท่านั้น แพทย์จีนกล่าวว่า "หัวใจของการมีสุขภาพที่ดี คือ การกินที่ถูกต้อง เพราะอาหารที่คนเรารับประทานเข้าไปแต่ละวัน มีผลต่อร่างกายและจิตใจอย่างมาก" "อาหารเจ" เป็นอาหารที่ปรุงโดยปราศจากเนื้อสัตว์รวมทั้งไม่มีส่วนประกอบอื่นใด นำมาจากสัตว์ทุกประเภท และที่สำคัญอาหารเจ งดเว้นการปรุงการเสพพืชผักฉุน 5 ประเภทอันได้แก่

         1 กระเทียม (หมายรวมไปถึง หัวกระเทียม ต้นกระเทียม)  
         2 หัวหอม (หมายรวมไปถึง ต้นหอม ใบหอม หอมแดง หอมขาว หอมหัวใหญ่)  
         3 หลักเกียว (คือกระเทียมโทนจีน ลักษณะคล้ายหัวกระเทียม แต่มีขนาดเล็กและยาว กว่า ในประเทศไทยไม่พบว่าปลูกแพร่หลาย)  
         4 กุ้ยฉ่าย (ใบคล้ายใบหอม แต่แบนและเล็กกว่า)  
         5 ใบยาสูบ (บุหรี่ ยาเส้น ของเสพติดมึนเมา)  


          ผักดังกล่าวเหล่านี้ เป็นผักที่มีรสหนัก กลิ่นเหม็นคาวรุนแรง นอกจากนี้ยังมีพิษที่ทำลายพลังธาตุทั้ง 5 ในร่างกาย เป็นมูลเหตุให้อวัยวะหลักสำคัญภายในทั้ง 5 ทำงานไม่ปกติ สำหรับผู้ปฏิบัติสมาธิฝึกจิต ไม่ควรรับประทานเป็นอย่างยิ่ง เพราะผักดังกล่าวมีฤทธิ์กระตุ้นจิตใจอารมณ์ให้เร่าร้อนใจคอหงุดหงิดง่าย และยังมีผลทำให้พลังธาตุในกายรวมตัวกันได้ยาก เพราะฉะนั้น โดยหลักเกณฑ์ที่มีมาแต่ครั้งบรรพกาลกล่าวได้ว่า "อาหารเจ" หรือ "อาหารของคนกินเจ" จึงเป็นอาหารที่ปรุงและรับประทานตามหลักเวชศาสตร์และเภสัชศาสตร์โบราณของจีนนั่นเอง

          ปัญหาที่มีผู้ถามกันมาก คือ กระเทียม ซึ่งทางการแพทย์และเภสัชค้นพบว่า มีสารที่สามารถละลายไขมันในเส้นโลหิต (คลอเลสเตอรอล) จึงใช้รับประทานเป็นยาได้ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดโลหิตเลี้ยงหัวใจตีบหรืออุดตัน เป็นต้น ในเรื่องนี้เป็นความจริงทีเดียว แม้ทางการแพทย์แผนโบราณของจีนก็ยืนยันตรงกันว่ากระเทียมเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้ "แม้ว่ากระเทียมจะเป็นยาดี แต่เนื่องจากมีความระคายเคืองสูง ผู้ที่เป็นโรคกะเพาะหรือกะเพาะอาหารเป็นแผลและโรคตับอย่ากินมาก" (จากหนังสือ อาหารเป็นยาได้ เล่ม 2 โดย วีรชัย มาศฉมาดล) แต่ในกรณีของคนปกติทั่วๆ ไปที่ร่างกายไม่ได้ป่วยเป็นโรคใดๆ เลย ทำไมจึงต้องรับประทานยาเข้าไปทุกๆ วัน ฉะนั้นจึงเข้าทำนองเดียววักนับ คนที่ไม่ได้ป่วยเป็นไข้หวัด แต่ก็ยังคงกินยาแก้หวัดเข้าไปเป็นประจำทุกๆ วัน ผลก็คือ แทนที่จะเป็นผลดีกลับกลายเป็นผลร้าย ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายเสียอีก

          ขอยกตัวอย่างในกรณีของผักฉุนอีกชนิดหนึ่งที่คนกินเจไม่รับประทานได้แก่ หอมแดง ซึ่งกล่าวไว้ในตำราสมุนไพรที่นักเภสัชศาสตร์ปัจจุบัน พบว่ามีสรรพคุณช่วยรักษาโรคโดยวิธี "นำหอมแดงหัวสดๆ หนัก 15-30 กรัม มาต้นแล้วดื่ม จะช่วยขับพยาธิ ขับลม แก้ท้องอืดแน่น ปวดประจำเดือน และอาการบวมน้ำ" แต่ในท้ายก็ได้ระบุพิษร้ายของมันไว้ด้วยว่า "ในกรณีที่บริโภคอยู่เป็นประจำหรือกินมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการหลงลืมง่าย ประสาทเสีย มีกลิ่นตัว ฟันเสีย เลือดน้อย และนัยน์ตาฝ้ามัว" (จากหนังสือ พืชสมุนไพรใช้เป็นยา เล่ม 8 โดย ภูมิพิชญ์ สุชาวรรณ) เพราะฉะนั้น เราจึงควรศึกษาให้ถี่ถ้วนลึกซึ้งถึงคุณและโทษของผักฉุนทั้ง 5 ให้รอบคอบเสียก่อน ไม่เป็นการฉลาดเลยที่จะรับประทานสิ่งใดก็ตาม โดยมองเห็นแต่ด้านดี จนไม่ใส่ใจในโทษของมันบ้างเลย ผักฉุนทั้ง 5 ชนิด ที่คนกินเจไม่บริโภค 1 กระเทียม (GARLIC) 2 หัวหอม (ONION) 3 หลักเกียว (หัวกระเทียมโทนของจีน) ไม่พบว่ามีการปลูกแพร่หลายในประเทศไทย) กุ้ยฉ่าย (CHINESE CHIVE) 5 ใบยาสูบ (TOBACCO)

ถั่วทั้ง 5 สี ที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย

         1 ถั่วแดง (RED BEANS)  
         2 ถั่วดำ (BLACK BEANS)  
         3 ถั่วเหลือง (SOY BEANS)  
         4 ถั่วเขียว (GREEN BEANS)  
         5 ถั่วขาว (WHITE BEANS)

          "อาหารมังสวิรัติ" แตกต่างจาก "อาหารเจ" อย่างไร? อาหารมังสวิรัติ หมายถึง อาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ทุกประเภท แต่ยังคงใช้ผักทุกประเภทมาปรุงอาหารรับประทาน ในส่วนของ "อาหารเจ" เป็นอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ทุกประเภทเช่นกัน แต่อาหารเจจะไม่ใช้ผักฉุนทั้ง 5 ประเภท มาปรุงลงในอาหารโดยเด็ดขาด เพราะฉะนั้นผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติอยู่แล้ว หากจะทดลองปรุงและรับประทานอาหารเจดูบ้าง ก็เพียงแต่ไม่บริโภคผักฉุนทั้ง 5 ประเภทก็เรียกว่าเป็น "อาหารเจ" และ "กินเจ" ได้แล้วนั่นเอง

ข้อควรปฏิบัติในการรับประทานอาหารเจ

        1. พืชผักและผลไม้ เป็นของคู่กันเสมอ นอกจากผักสดๆ ที่นำมาปรุงเป็นอาหารแล้ว คนกินเจจำเป็นต้องรับประทานผลไม้สดๆ หลังอาหารทุกมื้ออย่างสม่ำเสมอ การเลือกซื้อผักผลไม้เพื่อนำมาปรุง และการบริโภคในแต่ละวันควรจัดให้ได้ครบตามสีของธาตุทั้ง 5 ดังนี้

          1. สีแดง (แดงส้ม, แสด, ชมพู) สัญลักษณ์ ธาตุไฟ  
          2. สีดำ (น้ำเงิน, ม่วง) สัญลักษณ์ ธาตุน้ำ  
          3. สีเหลือง (เหลืองแก่, เหลืองอ่อน) สัญลักษณ์ ธาตุดิน  
          4. สีเขียว (เขียวเข้ม, เขียวอ่อน) สัญลักษณ์ ธาตุไม้  
          5. สีขาว (ขาวนวล, ขาวสะอาด) สัญลักษณ์ ธาตุโลหะ

         ผักผลไม้ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงหรือเป็นประเภทยาก เช่น พวกผักผลไม้เมืองหนาว ควรยึดหลักราคาถูก ประหยัด แต่มีคุณประโยชน์สูง จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่รู้จักฉลาดกิน ฉลาดใช้ ประหยัดยอด ประโยชน์เยี่ยม

          ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยผักผลไม้หลายหลาก ตลอดปีเราสามารถหามาบริโภคได้ไม่ขาดแคลน จึงควรเลือกซื้อมาปรุงและบริโภคให้ครบทั้ง 5 สี โดยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนนำมาบริโภคในแต่ละวันโดยไม่ซ้ำกัน และไม่ควรเลือกทานเฉพาะอย่างหนึ่งอย่างใดที่ตนชอบ โดยไม่คำนึงถึงคุณประโยชน์หลายๆ ท่านเลือกรับประทานผักผลไม้เฉพาะอย่างเพื่อความอร่อยเท่านั้น เป็นการรับประทานอาหารเจที่ยังไม่ถูกหลัก

          2. เมล็ดธัญพืช นอกจากผักผลไม้ที่ต้องรับประทานให้ครบทุกสีเป็นประจำแล้ว เมล็ดธัญพืชได้แก่ ถั่ว ถั่วแปลกแข็งทุกประเภท พืชที่เป็นหัวในดิน เช่น เผือก มัน กลอย มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก โดยเฉพาะเมล็ดถั่วมีสารอาหารครบทุกหมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต คือแป้งและน้ำตาล โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่หลายชนิด คนที่กินเจควรรับประทานถั่วทั้ง 5 สีเป็นประจำ ได้แก่ ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่งเหลือง ถั่วเขียว ถั่วขาว

          ถั่วทั้ง 5 สีนี้ ราคาไม่แพงมีอยู่แพร่หลาย บางทีก็ทำเป็นของหวานต่างๆ เช่น ถั่วดำบวช ถั่วแดงต้มน้ำตาล ถั่วเหลืองน้ำกะทิ (เต้าส่วน) ถั่วเขียวต้มน้ำตาลกรวด ถั่วลิสงอบ หรือเคลือบน้ำตาล ลูกเดือยบวช ถั่วขาวกวน ฯลฯ สำหรับถั่วขาวไม่ค่อยจะมีการปลูกแพร่หลายในประเทศไทย แต่ก็สามารถรับประทานถั่วลิสงซึ่งให้ประโยชน์ทดแทนกันได้

          ทุกคนควรรับประทานถั่วดังกล่าวหมุนเวียนไปให้คบทุกสีจะทำให้ร่างกาย ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ และช่วยเสริมให้อวัยวะหลักสำคัญภายในทำงานได้ดียิ่งขึ้น

          เนื้อเมล็ดในของพืชผัก อันได้แก่ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดแตงโม มันฮ่อ นับเป็นของขบเคี้ยวที่คนกินเจรู้จักดี เนื้อในของเมล็ดพืชดังกล่าว เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินมากมายหลายชนิด ซึ่งทรงคุณค่าทางโภชนาการอย่างยิ่ง

        ถั่วทั้ง 5 สีที่ให้คุณประโยชน์ต่ออวัยวะหลักภายใน
 
         1. ถั่วแดง (RED BEANS) ให้คุณต่อหัวใจ  
         2. ถั่วดำ (BLACK BEANS) ให้คุณต่อไต  
         3. ถั่วเหลือง (SOY BEANS) ให้คุณต่อม้าม  
         4. ถั่วเขียว (GREEN BEANS) ให้คุณต่อตับ  
         5. ถั่วขาว (WHITE BEANS) ให้คุณต่อปอด

          ธาตุทั้ง 5 สี ถั่วแต่ละสี บำรุงอวัยวะ ธาตุไฟ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไม้ ธาตุโลหะ แดง ดำ เหลือง เขียว ขาว ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วขาว หัวใจ ไต ม้าม ตับ ปอด

          3. การได้รับประทานสาหร่ายทะเลทั้งสดและแห้งพร้อมทั้งใช้เกลือทะเลมาปรุงลงในอาหาร ทั้ง 2 อย่างนี้มีไอโอดีน ซึ่งจะสามารถป้องกันโรคคอพอกได้เป็นอย่างดี

          4. งาขาวและงาดำ ในอาหารและขนมคนกินเจควรใช้งาปรุงผสมด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นงาขาวหรืองาดำ เพราะในเมล็ดงามีกรดไขมันไลโนเลอิค (LINOLEIC ACID) ซึ่งจำเป็นต่อร่างกายมากแต่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้

          สำหรับผู้ทำอาหารเจรับประทานเอง ให้นำงาขาวมาล้างเอาผงฝุ่นออกจนสะอาดดี ตักใส่ตะแกรงทิ้งไว้ให้หมาดแล้วใช้ไฟอ่อนๆ คั่วในกระทะจนสุกเหลืองพอเย็นจึงนำมาโขลกหรือ ปั่นให้แตกด้วยเครื่อง จะทำให้ได้ประโยชน์จากน้ำมันที่อยู่ในเมล็ดดียิ่งขึ้น งานที่บดแล้วจะมีกลิ่นหอมสามารถนำใช้ปรุงอาหาร และขนมได้ทุกประเภท ทำให้มีรสดี หอมน่ารับประทาน โดยปกติผู้ที่กินเจควรรับประทานงานในปริมาณวันละ 2 ช้อนโต๊ะ ก็นับว่าเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย  

          5. ผู้ที่กินเจ ไม่ควรรับประทานรสจัดเกินไป เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด ขมจัด เปรี้ยวจัด หวานจัด รสชาติที่จัดมากๆ จะส่งผลไปถึงอวัยวะหลักดังนี้

         รสขม ส่งผลต่อ หัวใจ  
         รสเค็ม ส่งผลต่อ ไต  
         รสหวาน ส่งผลต่อ ม้าม  
         รสเปรี้ยว ส่งผลต่อ ตับ  
         รสเผ็ด ส่งผลต่อ ปอด

          6. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารหมักดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง เครื่องกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป ควรหันมารับประทานอาหารสดที่ปรุงใหม่ๆ จะให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า  

          7. เครื่องดื่ม คนกินเจควรดื่มน้ำผลไม้สดๆ ตามธรรมชาติ เช่น น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ น้ำสับปะรด น้ำอ้อย น้ำมะพร้าว น้ำใบบัวบก น้ำมะตูม ฯลฯ    น้ำผลไม้ดังกล่าวจะทำให้ร่างกายและผิวพรรณสดชื่นเปล่งปลั่ง เราควรงดน้ำหวานที่ปรุงแต่งรสและเจือสีสังเคราะห์ เพื่อหลีกเลี่ยงพิษภัยจากสิ่งปลอมปน

          นอกจากการดื่มน้ำผลไม้สดๆ แล้ว ทุกคนต้องดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละ 8 แก้ว เป็นประจำ

        

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก


ความหมายเลขบัตรประชาชนไทยทั้ง 13 หลัก อยากรู้มั้ย ว่าแต่ละตำแหน่งหมายถึงอะไร ค้นหาคำตอบได้ที่นี่

13 เลขนี้ มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

โดยความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเรียนหรือทำอะไร ตัวเลขก็ล้วนมีเอี่ยว หรือมายุ่งเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนเราเสมอ และในทางกลับกัน ตัวเลขบางตัวอาจจะทำให้เรามีความสุขขึ้นด้วยซ้ำ เช่น ตัวเลขเพิ่มขึ้นของเงินเดือนหรือโบนัส ตัวเลขในบัญชีรายรับ ตัวเลขมูลค่าเพิ่มของหุ้นที่เราซื้อ ฯลฯ ยกเว้น ตัวเลขดอกเบี้ยเงินกู้ ที่งามโดยไม่ต้องรดน้ำ หรือตัวเลขยอดหนี้ที่ยังไม่จ่าย ส่วนตัวเลขที่น่ารังเกียจอีกตัว คือ ตัวเลขอายุที่เพิ่มขึ้นของสาวๆ ที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น

นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมี “ตัวเลข” ที่เกี่ยวพันกับความเชื่อต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศอีกหลายตัว เช่น คนไทยถือว่า เลข 9 เป็นเลขมงคล เพราะออกเสียงว่า “เก้า” ที่พ้องกับคำว่า “ก้าว” อันหมายถึง ความเจริญก้าวหน้า ด้วยเหตุนี้ ในปัจจุบัน เราจึงเห็นคนไทยจำนวนไม่น้อย ไปทัวร์ไหว้พระ 9 วัดเพื่อความเป็นสิริมงคล จนได้กลายมาเป็นการ “ทำบุญ” อีกรูปแบบที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย 

สำหรับฝรั่ง เขาจะถือว่า เลข 13 เป็นเลขอาถรรพ์ หรือเลขอัปมงคล  หรือเรียกกันว่า ลัคกี้นัมเบอร์ (Lucky number) สาเหตุมาจากอาหารมื้อสุดท้าย ของพระเยซูคริสต์ ที่เรียกกันว่า เดอะลาสซับเปอร์ (The Last Supper) นั้น มีสาวกร่วมโต๊ะพร้อมกับพระองค์ นับรวมแล้วได้ 13 คนพอดี ครั้นวันรุ่งขึ้นซึ่งตรงกับวันศุกร์ พระองค์ก็ถูกจับตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เขาจึงถือว่าวันศุกร์ที่ตรงกับวันที่ 13 เป็นวันโชคร้าย

แม้ว่าเลข 13 จะเป็นเลขอาถรรพ์ของฝรั่ง แต่คนไทยโดยทั่วไป ไม่ได้ถือกับตัวเลขดังกล่าว และที่น่าสนใจคือ มี เลข 13 ที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคนไทย ซึ่งเชื่อว่า คงมีคนอีกไม่น้อยไม่เคยทราบมาก่อน นั่นคือ เลขประจำตัวประชาชนในบัตรประชาชน หรือที่เดี๋ยวนี้เรียก สมาร์ทการ์ด ที่มีด้วยกัน 13 หลัก และแต่ละหลักก็มิใช่แค่เป็นเพียงจำนวนนับธรรมดาๆ แต่มีความหมายแฝงอยู่ด้วย ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอนำมาเสนอเพื่อเป็นความรู้ ดังนี้

สมมุติว่า เลขบัตรประชาชนของเราเขียนไว้ว่า 1 1001 01245 29 9  (เขียนเว้นวรรค ตามแบบ) แต่ละหลักก็จะมีความหมายดังนี้

หลักที่ 1 (คือหมายเลข 1 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภทได้แก่

ประเภท ที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคน ต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วันนับแต่เกิดมา ตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่ 17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด ก็จะมีหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น ซึ่งเลขนี้จะปรากฏในทะเบียนบ้าน และจะเป็นเลขประจำตัว เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี

ประเภท ที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วบังเอิญว่าพ่อแม่ผู้ปกครองลืมหรือติดธุระ ทำให้ไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกฎหมายกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลัง เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 และจะมีเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2 ทันที เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18 มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้น ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น 2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า

ประเภทที่ 3 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2527) หมายความว่า บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2501 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9

ประเภทที่ 4 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัว ก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่น ก่อนช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในสำนักทะเบียนเขตคลองสาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2527 ส้มจี๊ดก็ขอย้ายบ้านไปเขตดุสิต โดยที่ส้มจี๊ดยังไม่ทันได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสาน พอแจ้งย้ายเข้าเขตดุสิต ส้มจี๊ดก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 4 มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วย 4 กลายเป็น 4 1001 01245 29 9 ทันที แต่ถ้าส้มจี๊ดย้ายจากเขตคลองสานเดิม ไปเขตดุสิต หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ส้มจี๊ดก็ยังเป็นบุคคลประเภท 3 อยู่ เพราะถือว่าจะได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสานแล้ว จะย้ายอย่างไรก็ไม่เปลี่ยนแปลง

การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลขประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 อันเป็นวันสุดท้าย ของการดำเนินการให้ประชาชน ที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือทะเบียนบ้าน ได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น ช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 แล้ว ทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวเพื่อสำแดงตนว่า เป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี ซึ่งมีอีก 4 ประเภท คือ

ประเภท ที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อ เข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่นๆ เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตดุสิตอยู่แล้ว แต่บังเอิญว่าตอนที่มีการสำรวจรายชื่อผู้อยู่ในบ้าน เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้ชื่อของส้มจี๊ดหายไปจากทะเบียนบ้าน เมื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่และตรวจสอบแล้วว่าตกสำรวจจริง หรือจะเป็นเพราะกรณีอื่นใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ก็จะเพิ่มชื่อให้ แต่ส้มจี๊ดก็จะมีหมายเลขในทะเบียนบ้านเป็นบุคคลประเภท 5 และบัตรประชาชนจะขึ้นต้นด้วยเลข 5 ทันที คือ กลายเป็น 5 1001 01245 29 9

ประเภท ที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย เพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดน หรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทย จึงไปขอทำทะเบียนประวัติ เพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา คนทั้งสองแบบที่ว่า ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6 เลขประจำตัวในบัตรจะขึ้นต้นด้วยเลข 6 เช่น 6 1012 23458 12

ประเภท ที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7 เช่น 7 1012 2345 133

ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย ตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน คนกลุ่มนี้เลขในทะเบียนประวัติจะขึ้นด้วยเลข 8 เช่น 8 1018 01234 24 7

คนทั้ง 8 ประเภทนี้ จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้น ที่จะมีบัตรประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประชาชนได้ ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประชาชนให้

ต่อ ไปคือ หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (เลข 1001 ในตัวอย่างหรือสี่ตัวถัดไปจากตัวแรก) จะหมายถึง รหัสของสำนักทะเบียน หรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข ซึ่งก็หมายถึงถิ่นที่อยู่ของเรานั่นเอง กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ เช่น ถ้าเขียนว่า 1001 ก็หมายถึงว่า คุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ในเขตดุสิต เพราะ 10๐ ในหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงกรุงเทพมหานคร ส่วนเลข 01 ในหลักที่ 4 และ 5 คือรหัสของสำนักทะเบียนเขตดุสิต หรือถ้าเขียนว่า 1101 ก็จะหมายถึง อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมือง เพราะ 11 แรกคือ รหัสจังหวัดสมุทรปราการ และ 01 หลัง คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นต้น

สำหรับ หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (เลข 01245 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง กลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภท ตามหลักแรก (หลักที่ 1) ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่ง ก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับ หรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบัน เลขดังกล่าวก็จะหมายถึง เล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะไปปรากฎในบัตรประชาชน เมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น

หลัก ที่ 11 และ 12 (หมายเลข 29 ในตัวอย่างสมมุติ) จะหมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท เป็นการจัดลำดับว่าเราเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลประเภทนั้นๆ

หลักที่ 13 (เลข 9 ตัวสุดท้ายในตัวอย่าง) จะหมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรกอีกที

สำหรับ เลขตั้งแต่หลักที่ 6 ถึง 13 นี้เป็นการจัดหมวดหมู่ และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่ ซึ่งเราก็คงไม่ต้องรู้รายละเอียดอะไรลึกไปกว่านี้ เพราะรู้แล้วอาจจะงงเปล่าๆ

เป็นเรื่องน่าแปลกว่า ตัวเลข 13 หลักที่เป็นหมายเลขในบัตรประชาชน หรือเลขประจำตัวประชาชนของเราแต่ละคนนี้ จะไม่มีการซ้ำกันเลย ผิดกับชื่อหรือนามสกุล ยังมีซ้ำกันได้ และจะเป็นเลขประจำตัวเราจนตาย ไม่มีการเปลี่ยน หรือยกให้คนอื่น และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ในอนาคตจะต้องมีการเติมเลข อย่างเลข 8 เข้าไปอีก เพราะเลขไม่พอใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือหรือไม่ เขาก็บอกว่าคงอีกนาน อาจจะถึง 100 ปีโน่น เพราะการที่เขาแยกแยะบุคคลเป็นประเภทต่างๆ และยังแยกย่อยเป็นจังหวัดอำเภอ แล้วลงรายละเอียดไปเป็นกลุ่มๆในแต่ละประเภทอีกนั้น ทำให้เพดานหรือช่วงตัวเลขมีความห่างมาก จนสามารถรองรับจำนวนคนได้อีกมาก และหากใครสงสัย หรือมีปัญหาในเรื่องทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน ก็สามารถสอบถามไปได้ที่ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โทร. 1548

ตัว เลข 13 หลักที่กล่าวข้างต้น  เป็นเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละคนนี้ แม้จะมิใช่ตัวเลขที่เราต้องใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ยกเว้นใช้ในการกรอกเอกสารบางอย่าง เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร ฯลฯ แต่เลขนี้ก็มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

ที่มา : มติชน

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิธีขับรถลุยน้ำท่วม

 1.  ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด ในขณะขับรถลุยน้ำลึก หรือน้ำตื้นก็ตามเพราะ สาเหตุที่รถดับ ส่วนใหญ่เกิดจากการเปิดแอร์แล้วขับลุยน้ำ  ก็เพราะว่า เมื่อเราเปิดแอร์พัดลมจะทำงาน  ถ้าเราขืนเปิดพัดลมสิ่งที่จะตามมา ก็คือ ใบพัดจะพัดให้น้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง เครื่องจะดับเอาง่าย ๆ  ถ้าเครื่องไม่ดับ ใบพัดก็จะหมุน ๆ ซึ่งเราก็ไม่รู้หรอกว่า ขณะที่เราลุยน้ำ อะไรมันจะลอยมาบ้าง มันมีสารพัด ไม่ว่าจะเป็น ขยะ กิ่งไม้ ไม้หน้าสาม ถุงพลาสติก รองเท้า ... สิ่งของพวกนี้ มันมีโอกาสที่จะเข้ามาในห้องเครื่อง แล้วโดนใบพัดตัดจนใบพัดหัก ซึ่งถ้าใบพัดหัก แน่นอนว่า เราขับรถต่อไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะระบบระบายความร้อนจะมีปัญหา


 2. ควรใช้เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดา ก็ใช้ประมาณเกียร์ 2 หรือสำหรับออโต้ ก็ใช้เกียร์ L ก็ได้ครับรวมถึงการขับขี่ที่มีความเร็วต่ำที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ และควรใช้ความเร็วสม่ำเสมอ อย่าหยุดอย่าเร่งความเร็วขึ้น


 3. คือ ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูง ๆ เพราะเห็นผู้ขับขี่หลาย ๆ คนมักจะเร่งเครื่องแรง ๆ เพราะอะไรรู้ไหมครับ เพราะกลัวเครื่องดับเพราะกลัวน้ำเข้าท่อไอเสีย ซึ่งจริง ๆ แล้วมันเป็นความคิดที่ผิดมาก ๆ แท้ที่จริงแล้วการเร่งเครื่อง ยิ่งทำให้รถมีความร้อนสูงขึ้น เมื่อเครื่องมีความร้อนสูงขึ้น ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน และสิ่ง
ที่จะตามมาก็เหมือนกับข้อ 1ไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะเข้าท่อไอเสียครับ เพราะต่อให้น้ำจะท่วมท่อไอเสีย แล้วคุณสตาร์ทรถอยู่ที่รอบเดินเบา แรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะดันน้ำออกมาอย่างสบาย ๆ ต่อให้คุณจอดรถทิ้งไว้จนน้ำท่วมท่อไอเสียก็ตาม เมื่อคุณเข้าไปในรถ แล้วสตาร์ทรถ ผมกล้าพูดได้เลยทีเดียวติดแน่นอน (กรณีนี้ ที่ผมกล้าพูดว่ารถสามารถสตาร์ทติด คือ น้ำท่วม แค่ท่วมท่อไอเสียนะ ไม่ใช่ท่วมฝากระโปรงนะครับ) 


4. ควรลดความเร็วลง เมื่อ กำลังจะขับรถสวนกับอีกคันที่กำลังขับมา
เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นคลื่นชนคลื่น อย่างที่ผมบอก ซึ่งน้ำที่ปะทะระหว่างรถของเราและรถที่วิ่งสวนมา มันก็อาจทำให้น้ำกระเด็นไปทำอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในได้ หลังจากเราลุยน้ำลึกมา สิ่งที่ควรทำต่อ ก็คือ ข้อแรก พยายามย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะในช่วงแรก ๆ หลังจากการลุยน้ำลึกมา มันจะเบรกไม่อยู่ และเป็นอันตรายมาก ถ้าเราไม่ทำการย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรก สำหรับเกียร์ธรรมดา ต้องมีการย้ำคลัชเช่นเดียวกับการย้ำเบรก เพราะหลังการลุยน้ำมา อาจมีปัญหาคลัชลื่น จึงต้องทำทั้งย้ำคลัชและย้ำเบรก


อีกข้อนึงคือ ไม่ควรดับเครื่องทันที ถึงแม้ถึงจุดหมายก็ตาม เพราะอาจมีน้ำค้างอยู่ในหม้อพักของท่อไอเสีย ซึ่งควรสตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มีไอออกจากท่อไอเสีย ก็ไม่ต้องตกใจ ก็ให้สตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้น้ำในหม้อพักมันระเหยออกไป เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ จะทำให้เกิดน้ำค้างอยู่ในหม้อพัก สิ่งที่จะตามมาคือ มันจะผุ